ก่อนที่คุณจะวางแผนดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์คุณจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ อาการ ต่าง ๆ เสียก่อน เพราะอาการของโรคอัลไซเมอร์ก็จะมีการแสดงอาการที่แตกต่างกันไปในแต่ละระยะ ซึ่งสามารถแบ่งได้กว้าง ๆ โดยแบ่งออกเป็นระยะที่ไม่รุนแรง ระยะปานกลาง และระยะรุนแรง ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ในวันนี้ Vitalia Wellness Clinic จะมาเจาะลึกเนื้อหา การดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการดูแลผู้ป่วยแล้ว อาการที่ผู้ป่วยจะแสดงออกมา เช่น มีการสื่อสารลำบาก ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดูแลในทุก ๆ ด้านของชีวิต มีอาการน้ำหนักลด อาการชัก มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง และมีการนอนหลับเพิ่มขึ้น
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์โดยเฉพาะระยะรุนแรง จำเป็นต้องการได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้ดูแลได้อย่างมากมาย เมื่ออาการของโรครุนแรงขึ้น ผู้ป่วยมักจะมีอาการเหล่านี้
ในช่วงท้าย บทบาทของผู้ดูแลจะเน้นไปที่การรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะสุดท้ายจะสูญเสียความสามารถในการพูดและการแสดงความต้องการไปแล้ว แต่ก็ควรดูแลผู้ป่วยให้ครบถ้วนให้มีสุขภาวะอนามัยที่ดี และนี่คือ 4 ขั้นตอนสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ระยะรุนแรง ได้แก่
การรับประทานอาหาร เป็นการดูแลประจำวันที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย เพื่อทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะสุดท้ายได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายอย่างเหมาะสม ควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้
กำหนดตารางการเข้าห้องน้ำ โดยแนะนำให้ผู้ดูแลจดบันทึกเอาไว้เลยว่าผู้ป่วยได้ไปห้องน้ำเมื่อไหร่ ไปห้องน้ำบ่อยหรือถี่ขนาดไหน ซึ่งจะทำให้นำมาวางแผนตารางเวลาการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้และถ้าผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ลำบาก แนะนำให้ใช้โถส้วมข้างเตียง และแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ดูดซับและป้องกัน อย่างกางเกงในแบบใช้แล้วทิ้งสำหรับผู้ใหญ่และแผ่นรองนอน ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำรองในเวลากลางคืนได้
ความยากลำบากในการเข้าห้องน้ำเป็นเรื่องปกติมากในระยะนี้ของโรค บุคคลนั้นอาจต้องเดินไปที่ห้องน้ำและชี้แนะตลอดกระบวนการ การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ยังเป็นเรื่องปกติในช่วงอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย เพื่อรักษาการทำงานของลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ
การดูแลสุขภาพผิวหนังและร่างกาย โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย มักจะไม่สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วยตัวเองอีกต่อไป การนั่งในท่าเดิมหรือนอนเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ผิวหนังแห้งแตก เกิดแผลกดทับ และทำให้ข้อต่อแข็ง ดังนั้นผู้ดูแลก็จะต้องเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อลดแรงกดทับ และปรับปรุงการไหลเวียนของโลหิต และเนื่องจากผิวหนังของผู้ป่วยจะฉีกขาดหรือช้ำได้ง่าย แนะนำให้เช็ดตัวด้วยสบู่อ่อน ๆ และซับให้แห้ง ตรวจดูการเกิดผื่นและแผล ทุกวัน ใช้หมอนหรือแผ่นรองเพื่อป้องกันการกดของข้อศอก ส้นเท้า สะโพก และบริเวณกระดูกอื่น ๆ แนะนำให้ทามอยเจอร์ไรเซอร์ในบริเวณผิวเหล่านี้ แบบเบามือ
ป้องกันการติดเชื้อและโรคปอดบวม เพราะ การไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย อาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อแนะนำให้รักษาฟันและแปรงช่องปากให้สะอาด การมีสุขอนามัยช่องปากที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงของการสะสมแบคทีเรียในปากที่อาจนำไปสู่โรคปอดบวม แนะนให้ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มหรือผ้ากอซชุบน้ำหมาด ๆ เพื่อทำความสะอาดเหงือก ลิ้น และเนื้อเยื่ออ่อนอื่น ๆ ในปาก และถ้าผู้ป่วยมีบาดแผล ให้รักษาบาดแผลและรอยถลอกทันที ทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ แล้วทาขี้ผึ้งปฏิชีวนะ หากบาดแผลลึก ให้ไปพบคุณหมอทันที
การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้ดูแลจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะที่ผู้ป่วยกำลังประสบพบเจอ โดยจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเทคนิคการสื่อสาร การจัดการพฤติกรรม และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ซึ่งนอกเหนือไปจากจะทำให้ดูแลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นแล้ว ก็ยังทำให้มีการจัดการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบได้มากขึ้นอีกด้วย
เทคนิคการสื่อสาร ควรเน้นการสื่อสารที่เรียบง่ายและชัดเจน แนะนำให้ใช้คำพูดและประโยคที่เข้าใจง่าย ๆ พูดช้า ๆ และชัดเจน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและประมวลผลข้อมูลได้ง่ายขึ้น และยิ่งใช้การแสดงออกทางสีหน้า ตลอดจนภาษากายร่วมด้วย ก็จะช่วยถ่ายทอดข้อความของคุณไปยังผู้ป่วยได้ดีมากขึ้น และยังเป็นการแสดงความเห็นอกเห็นใจ และความเข้าใจที่คุณมีต่อผู้ป่วยได้ดีมากขึ้นอีกด้วย
การรจัดการพฤติกรรม พยายามวางแผนสร้างกิจวัตรประจำวันให้ตรงในช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน ทั้งเช้าและเข้านอนให้เป็นเวลาเดิม กินข้าวเวลาเดิม ชวนผู้ป่วยคุยในเวลาเดิม ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสัมผัสได้ถึงความรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น และควรจัดที่นอนหรือที่อยู่ของผู้ป่วยให้อยู่ที่เงียบสงบ ปราศจากเสียงรบกวนและแสงสว่างจะต้องมีความสว่างอย่างเพียงพอ พยายามหมั่นสังเกตว่าสิ่งใด ข้อความ หรือการกระทำใด ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความก้าวร้าว และให้ลดละเลิกพฤติกรรมนั้น อย่าทำต่อหน้าผู้ป่วยเพื่อลดความรุนแรงลง
การจัดการสภาพแวดล้อม โดยเน้นแบบปลอดภัยไว้ก่อน ไม่วางของเกะกะ หรือมีอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวผู้ป่วย เพื่อป้องกันการล้ม เช่น ไม้เท้า เก้าอี้ช่วยเดิน หรือเก้าอี้นั่งอาบน้ำในห้องน้ำ และอาจมีการติดสัญญาณตรวจจับการเคลื่อนไหวภายในบ้าน ติดกล้องเพื่อใช้ในการสอดส่องดูแลผู้ป่วย จัดเตียงของผู้ป่วยให้อยู่ในมุมที่มีความปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี และพยายามจัดข้าวของเครื่องใช้ให้เหมือนกับเป็นปกติ เหมือนตอนที่ผู้ป่วยยังไม่ป่วยหนัก เพื่อทำให้ผู้ป่วยสัมผัสได้ถึงความรู้สึกคุ้นเคย หรืออาจจะนำรูปภาพของครอบครัวมาตั้งไว้บริเวณที่เตียงด้วยก็ได้
การดูแลผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม อาจเป็นประสบการณ์ที่น่าเศร้า เมื่อคุณค่อย ๆ เห็นความทรงจำของคนที่คุณรักหายไปและและทักษะการใช้ชีวิตต่าง ๆ ก็เริ่มถดถอย เรื่องที่เคยทำได้ก็ทำไม่ได้แล้ว ซึ่งจะทำให้ผู้ดูแลเกิดความเศร้าโศกเกิดความหดหู่ใจมากขึ้นเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ดูแลเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้ป่วย ก็จะยิ่งพบกับความเศร้าโศกภายในใจมากขึ้นเข้าไปอีก และบางครั้งเมื่อความเหนื่อยล้าถ้าโถม ก็อาจจะทำให้ผู้ดูแลเกิดความหงุดหงิด หรือ อาจมีภาวะซึมเศร้าได้
สิ่งสำคัญที่เราอยากจะแนะนำก็คือการดูแลผู้ป่วยด้วยความรักและความเข้าใจ และผู้ดูแลก็อย่าลืมหมั่นสำรวจและดูแลจิตใจของตนเองด้วย พยายามสับเปลี่ยนเวรกับคนในครอบครัวอย่างเป็นระบบ จะได้มีเวลาใช้ชีวิตหรือผ่อนคลายเป็นของตัวเองบ้าง หรือในกรณีที่คุณต้องการดูแลผู้ป่วยให้ดีที่สุด ก็อาจจ้างพยาบาลพิเศษมาช่วยงานดูแลผู้ป่วยที่บ้าน หรือนำตัวผู้ป่วยไปไว้ในสถานพยาบาลที่เหมาะสม มีผู้ดูแลเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และสมาชิกในครอบครัวก็คอยหาเวลาแวะเวียนไปเยี่ยมผู้ป่วยกัน
Vitalia Wellness Clinic พร้อมให้บริการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด ก่อนที่จะวางโปรแกรมดูแล anti aging เวชศาสตร์ชะลอวัยฉีด ให้เหมาะสมกับสุขภาพและความเสี่ยงของคนไข้แต่ละราย และการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดนี้ นอกจากจะทำให้คุณหมอมีข้อมูลนำไปวางแผนแนวทางการดูแลแล้ว ก็ยังทำให้คุณมีความเข้าใจ กับระบบการทำงานร่างกายของตัวเองมากขึ้น และนำไปปรับใช้กับการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันได้ดีมากขึ้นอีกด้วย ยกตัวอย่างโปรแกรมตรวจสุขภาพอย่างละเอียดที่เราให้บริการ เช่น
หลังจากที่ผลตรวจออกมา คุณหมอก็จะมาสรุปและให้คำแนะนำแก่คนไข้ พร้อมแนะนำวิธีการดูแลตัวเองแบบเฉพาะรายบุคคล เป็นการให้คำปรึกษาที่มีรายละเอียดเจาะลึกที่มากกว่าเดิม
การตรวจยีนส์อัลไซเมอร์เพื่อวัดระดับความเสี่ยงของ โรคอัลไซเมอร์ระดับยีนส์ ประเมินว่าเราได้รับพันธุกรรมจากคนในครอบครัวหรือไม่ ทำให้เริ่มต้นดูเเลลดความเสี่ยง ป้องกันก่อนการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยผลตรวจจะแสดงค่าออกมาเป็นค่าความเสี่ยง 3 ระดับ ได้แก่
หากผลตรวจออกมามีความเสี่ยงสูงระดับ3 แนะนำให้รีบฟื้นฟูสมองอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่จะเกิดขึ้น คุณหมอจะวางแผนในการดูแลคนไข้ด้วยการให้ Premium Brain Booster IV พร้อมช่วยปรับพฤติกรรมทั้งหมดที่ลดความเสี่ยง เช่น แนะนำให้นอนไวก่อน 22:00 น. วางแผนควบคุมน้ำตาล ไขมันในเลือดให้ปกติ แนะนำกิจกรรมผ่อนคลายสมองให้กับคนไข้
ข้อมูลแพ็กเกจ Keep Being Young สุขภาพดีจากภายในด้วย “Keep being Young Program”สำหรับคนที่รักในการดูแลตัวเองด้วยศาสตร์ใหม่ โปรแกรมเพื่อการชะลอวัย โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีผิวสวยสุขภาพดี มีความแข็งแรงจากภายในในทุก ๆ ด้าน ด้วยโปรแกรมสุดพิเศษจาก Vitalia Wellness Clinic โปรแกรม Keep being Young Program เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจน
ที่ Vitalia Wellness Clinic เราดูแลอย่างใกล้ชิด โดยคุณหมอแชมป์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์ชะลอวัย